ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลืองกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
ระบบ ไหลเวียน โลหิต ประกอบไปด้วย หัวใจหรือเครื่องสูบฉีดเลือด หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย ระบบเส้นเลือดหัวใจบางครั้งเรียกว่าระบบหมุนเวียนเลือด blood-vascular system ระบบหมุนเวียนประกอบด้วย ระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง ระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยท่อน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง น้ำเหลืองมีลักษณะเป็นของเหลว ท้ายที่สุดก็จะถูกส่งเข้าไปในกระแสเลือด สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง จะมีไขกระดูกที่ทำหน้าที่ในสร้างเลือดและน้ำเหลือง เรียกว่าขบวนการ Hematopoiesis สรีรวิทยาระบบไหลเวียนเลือด เป็นการบรรยายโครงสร้างและการทำงาน ของระบบการหมุนเวียนของเลือดในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีระบบการไหลเวียนของเลือดหลายอย่างที่แตกต่างกัน ไป และจะเกี่ยวข้องกับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายในของสัตว์แต่ละชนิด ระบบการไหลเวียนเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบไปด้วย หัวใจทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือด และส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านหลอดเลือด ระบบหมุนเวียนโลหิตมีหน้าที่ในการนำเอาเลือดซึ่งมีปริมาณ O2 สูง (Oxygenated blood) ไปสู่เยื่อจากนั้นจะรับเอาเลือดซี่งมีปริมาณ CO2 สูง ออกจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจแล้วผ่านปอดต่อไป ระบบไหลเวียนเลือดเป็นการทำงานที่ซับซ้อนและเกี่ยวพันกันระหว่างเส้นเลือด แดง เส้นเลือดดำ และต่อมน้ำเหลือง
สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต ตัวอย่างสัตว์ที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หนอนตัวแบน ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว ตัวมีปากซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร ซึ่งแตกแขนงอย่างมาก ด้วยความแบนของตัว ทำให้อาหารที่ถูกย่อยเรียบร้อยแล้วสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึงทุกเซลล์ นอกจากนี้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนสามารถแพร่จากน้ำเข้าสู่เซลล์ได้ และเนื่องจากทุกเซลล์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่ต้องอาศัยการลำเลียงน้ำและแก๊สออกซิเจน
ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (open circulatory system) พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะ
ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด มีอวัยวะที่สำคัญในระบบ คือ หัวใจ เลือด และหลอดเลือด) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น ไส้เดือนและหมึก เลือดไหลในเส้นเลือดตลอดเวลา ใช้แรงดันมากว่าการไหลเวียนระบบเปิด
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้ นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้ เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วยอาเทอรี่เวนและหลอดเลือดฝอย ระบบไหลเวียนโลหิตในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียว คือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมี การแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที เลือด มีส่วนเป็นของเหลว 55% มีส่วนเป็นของที่ไม่เหลวอีก45%
ความดัน ความดันปกติของเพศชายคือ 120/80ม. ความดันปกติของเพศหญิงคือ 110/70ม. โรคความดันเกิดขึ้นกับคนอ้วนได้ง่าย
เลือด (blood)
สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต ตัวอย่างสัตว์ที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หนอนตัวแบน ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว ตัวมีปากซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร ซึ่งแตกแขนงอย่างมาก ด้วยความแบนของตัว ทำให้อาหารที่ถูกย่อยเรียบร้อยแล้วสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึงทุกเซลล์ นอกจากนี้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนสามารถแพร่จากน้ำเข้าสู่เซลล์ได้ และเนื่องจากทุกเซลล์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่ต้องอาศัยการลำเลียงน้ำและแก๊สออกซิเจน
ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (open circulatory system) พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะ
ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด มีอวัยวะที่สำคัญในระบบ คือ หัวใจ เลือด และหลอดเลือด) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น ไส้เดือนและหมึก เลือดไหลในเส้นเลือดตลอดเวลา ใช้แรงดันมากว่าการไหลเวียนระบบเปิด
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้ นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้ เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วยอาเทอรี่เวนและหลอดเลือดฝอย ระบบไหลเวียนโลหิตในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียว คือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมี การแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที เลือด มีส่วนเป็นของเหลว 55% มีส่วนเป็นของที่ไม่เหลวอีก45%
ความดัน ความดันปกติของเพศชายคือ 120/80ม. ความดันปกติของเพศหญิงคือ 110/70ม. โรคความดันเกิดขึ้นกับคนอ้วนได้ง่าย
เลือด (blood)
ประกอบด้วย
1. น้ำเลือด (plasma) ประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ และแก๊ส
2. ส่วนที่เป็นของแข็ง ประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
1. น้ำเลือด (plasma) ประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ และแก๊ส
2. ส่วนที่เป็นของแข็ง ประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
เซลล์เม็ดเลือดแดง มีส่วนประกอบเป็นโปรตีนที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ เรียก เฮโมโกลบิน (haemoglobin) แก๊สออกซิเจนที่ได้จากการหายใจเข้าจะรวมกับเฮโมโกลบิน แล้วถูกลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดแดง มีอายุประมาณ 100-120 วัน หลังจากนั้นถูกทำลายที่ตับและม้าม
เซลล์เม็ดเลือดขาว มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรคโดยการกินเชื้อโรค เมื่อเชื้อโรคตาย เม็ดเลือดขาวจะตายกลายเป็นหนอง
เกล็ดเลือด จะช่วยทำให้เลือดแข็งตัว เมื่อเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย และช่วยห้ามเลือดในกรณีที่เกิดบาดแผล
หลอดเลือดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.หลอดเลือดแดง (artery)
2.หลอดเลือดดำ (vein)
หลอด เลือดแดง (artery) คือหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่สุด เรียก เอออร์ตา (aorta) ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร และไหลไปตามหลอดเลือดแดงขนาดเล็กลง เรียก หลอดเลือดแดงเล็ก เรียก อาร์เตอริโอล (arteriole) ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 มิลลิเมตร และเลือดเข้าสู่หลอดเลือดฝอย ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับ หลอดเลือดดำเล็ก (venule) และไหลไปตามหลอดเลือดดำขนาดเล็กไปจนถึงหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ที่สุด คือ เวนาคาวา (vena cava) เพื่อเข้าสู่หัวใจ